เวียงเชียงแสน คือ เวียง ก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรล้านนา ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ บ้านสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
แคว้นที่สำคัญที่สุด และ มีเมืองหลวงอยู่ในอำเภอเชียงแสน ก็คือ แคว้นโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณที่เก่าแก่ที่สุดบนอาณาจักรล้านนา มีอายุประมาณ 2000 ปี ปัจจุบันนี้ก็คือ ทะเลสาบเชียงแสน และ รอบๆนั้น อีกแคว้นหนึ่งก็คือ แคว้นหิรัญนครเงินยาง ซึ่งเป็นแคว้นผู้ก่อตั้งเวียงเชียงแสน เป็นแคว้นสืบต่อเนื่องจากแคว้นโยนกนาคพันธุ์ และ เป็นถิ่นประสูติของพญามังรายมหาราช
หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ที่ประสูติของพระเจ้ามังรายมหาราช
หลังจากนครโยนกนาคพันธุ์ถูกถล่มด้วยแผ่นดินไหวล่มสลายลง เมื่อปี พ.ศ. 1088 ก็สิ้นราชวงศ์สิงหนวัติ หลังจากนั้นอีกหลายปี บรรดาชุมชนบริเวณรอบๆที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องหาผู้นำใหม่ ปรากฏว่า ได้ ขุนลัง เป็นผู้นำ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้งบนเวียงริมฝั่งแม่น้ำโขง ปกครองด้วยการประชุมหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "เวียงปรึกษา"
วิธีปกครองแบบ ปรึกษา ซึ่งนักวิชาการบางท่านก็จะคิดว่า เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในเมืองไทยนี้ สามารถใช้มาจนถึง พ.ศ. 1181 เป็นเวลาถึง 93 ปี ก่อนที่ พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์แห่งทวารวดีจะเสด็จขึ้นมาสนับสนุน พญาลวจักรราช ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แทนราชวงศ์สิงหนวัติ
เมืองเชียงแสนในสมัยล้านนา
หิรัญนครเงินยางเชียงแสน กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในสมัยล้านนา หลังจากพญาเม็งรายสวรรคตแล้ว พญาแสนภูพระราชนัดดาขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ได้เสด็จกลับมาฟื้นฟูนครขึ้นมาใหม่ และประทับว่าราชการอยู่เมืองนี้ ทำให้เมืองเชียงแสนมีฐานะเป็นเมืองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 1870-1884 คือ ในรัชสมัย พญาแสนภู และ พญาคำฟู รวม 13 ปี
แคว้นที่สำคัญที่สุด และ มีเมืองหลวงอยู่ในอำเภอเชียงแสน ก็คือ แคว้นโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณที่เก่าแก่ที่สุดบนอาณาจักรล้านนา มีอายุประมาณ 2000 ปี ปัจจุบันนี้ก็คือ ทะเลสาบเชียงแสน และ รอบๆนั้น อีกแคว้นหนึ่งก็คือ แคว้นหิรัญนครเงินยาง ซึ่งเป็นแคว้นผู้ก่อตั้งเวียงเชียงแสน เป็นแคว้นสืบต่อเนื่องจากแคว้นโยนกนาคพันธุ์ และ เป็นถิ่นประสูติของพญามังรายมหาราช
หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ที่ประสูติของพระเจ้ามังรายมหาราช
หลังจากนครโยนกนาคพันธุ์ถูกถล่มด้วยแผ่นดินไหวล่มสลายลง เมื่อปี พ.ศ. 1088 ก็สิ้นราชวงศ์สิงหนวัติ หลังจากนั้นอีกหลายปี บรรดาชุมชนบริเวณรอบๆที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องหาผู้นำใหม่ ปรากฏว่า ได้ ขุนลัง เป็นผู้นำ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้งบนเวียงริมฝั่งแม่น้ำโขง ปกครองด้วยการประชุมหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "เวียงปรึกษา"
วิธีปกครองแบบ ปรึกษา ซึ่งนักวิชาการบางท่านก็จะคิดว่า เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในเมืองไทยนี้ สามารถใช้มาจนถึง พ.ศ. 1181 เป็นเวลาถึง 93 ปี ก่อนที่ พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์แห่งทวารวดีจะเสด็จขึ้นมาสนับสนุน พญาลวจักรราช ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แทนราชวงศ์สิงหนวัติ
เมืองเชียงแสนในสมัยล้านนา
หิรัญนครเงินยางเชียงแสน กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในสมัยล้านนา หลังจากพญาเม็งรายสวรรคตแล้ว พญาแสนภูพระราชนัดดาขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ได้เสด็จกลับมาฟื้นฟูนครขึ้นมาใหม่ และประทับว่าราชการอยู่เมืองนี้ ทำให้เมืองเชียงแสนมีฐานะเป็นเมืองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 1870-1884 คือ ในรัชสมัย พญาแสนภู และ พญาคำฟู รวม 13 ปี
เจดีย์วัดป่าสัก
ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์เม็งรายเมื่อ ราวพ.ศ. ๑๘๗๑ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ กล่าวว่า “ ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีนถ้ำขวา(เบี้องขวา)แห่งพระ พุทธเจ้าใหญ่เท่าเม็ดถั่วกว่าง(ถั่วเขียว)เอามาแต่เขตเมืองปาฏลีบุตรนั้น เอามาสู่พระยาราชแสนดู แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก ต่อวัดพระหลวงภายนอกที่นั้นแล้ว ก็สร้างให้เป็นความกว้าง ๕๐ วา เอาไม้สักมาปลูกแวดกำแพง ๓๐๐ ต้นแล้วเรียกว่าความป่าสักแต่นั้นมาแล แล้วก็สร้างกุฎีให้เป็นทานแก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังตราบป่าสักที่นั้น” เจดีย์วัดป่าสักเป็นเจดีย์ห้ายอดคล้ายเจดีย์เชียงยืน ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน แต่มีลักษณะคลี่คลายออกไปแล้วคือผังส่วนล่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ยๆซ้อนลดหลั่น รองรับชั้นแถวจระนำซึ่งทั้งสี่ด้านมีซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนด้านละสาม องค์ รวมทั้งหมด ๑๒ องค์และยังมีจระนำเล็กอีกสี่สลับสำหรับประดิษฐานรูปเทวดายืน (ชั้นจระนำนี้มีต้นเค้าจากอิทธิพลเจดีย์กู่กุดแต่ลดชั้นเหลือเพียงชั้น เดียว) เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงลดหลั่นสี่ชั้น ชั้นที่กล่าวมาเหล่านี้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏที่เจดีย์เชียงยืน พ้นจากส่วนนี้เหมือนเจดีย์เชียงยืนคือ เป็นฐานบัวรองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยม แต่ละด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ประทับยืนทั้งสี่ด้าน กรอบซุ้มประดับด้วยฝักเพกาสูงแหลมลดหลั่นกันแบบศิลปะพุกามที่มีชื่อเรียกว่าเคล็ก (CLEC) ที่มุมเหนือเรือนธาตุประดับเจดีย์องค์เล็กๆ เหนือเรือนธาตุตรงกลางเป็นแท่นแปดเหลี่ยมมีบัวปากระฆังรองรับองค์ระฆังกลมที่ประดับลายรัดอก เหนือองค์ระฆังเป็นบัวกลุ่มซ้อนกันขึ้นไปจนถึงปลียอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น