วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติวัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่


ประวัติวัดฟ้าฮ่าม

"พระเจ้าแสนเมืองมา" พระเจ้าลักขบุราคม พระองค์เป็นกษัตริย์ราชวงค์มังราย (เม็งราย) องค์ที่ 9 ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช กษัริย์องค์ที่ 8 เมื่อพระชมมายุได้ 15 พรรษา ในเวลานั้น พระเจ้าพรหม พระมาตุลาของพระองค์ ครองเมืองเชียงราย ได้ยกทัพมาตีนพบุรีศรีนครพิงค์(เชียงใหม่) เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ แต่ถูกทัพหลวงตีพ่าย จึงขอความช่วยเหลือจากพระอินทรราชากษัริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ถูกตีพ่ายไปอีก

ต่อมาอีกไม่นาน พระเจ้าพรหมก็เสด็จมานพบุรีศรีนครพิงค์อีก เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยนำพระพุทธสิพิงค์ (พระสิงห์) องค์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง (สร้างเมื่อ พ.ศ.700 ตามตำนาน "สิงหลปฏิมา" และ ชินกาลมาลีปกรณ์ สร้างขึ้นที่ประเทศศรีลังกา นัยหนึ่งว่าที่เมือง "อนุราชสิงหล" ประเทศเดียวกัน ครั้งเมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้แต่งราชฑูตไปขอมาจากประเทศศรีลังกา) มาจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ.1933 (พงศาวดารโยนก) อัญเชิญไปไว้ที่เชียงราย ใน พ.ศ.1934 แล้วต่อมาได้นำมาถวายพระเจ้าแสนเมืองมา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยอัญเชิญจากเชียงรายทางลำน้ำกก แล้วมาขึ้นที่สบฝางกุสะนคร (เมืองฝาง) จากนั้นอัญเชิญขึ้นหลังช้างไปเชียงดาว เพื่อล่องเรือตามเส้นทางลำน้ำแม่ระมิงค์ (แม่ปิง) ครั้นถึงนพบุรีศรีนครพิงค์แล้ว อัญเชิญขึ้นที่ท่าวังสิงห์คำ เหนือท่าเจดีย์งามประมาณ 50 ว่า แต่เกิดเหตุการณ์ปาฏิหารย์ขององค์พระพุทธสิหิงค์ ปรากฏว่า ท้องฟ้าที่สว่างก็มืดลง และ มีพระรัศมีจากองค์พระพุทธสิหิงค์ พุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำแสงสีทองดั่งรุ้งกินน้ำ ยาวประมาณ 2,000 วา และ สิ้นสุดที่แห่งหนึ่ง ท้องฟ้าที่นั้นก็สว่าง ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก

พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดเกล้าให้สร้างอารามขึ้น ณ ที่ลำแสงสิ้นสุดนั้นว่า "อารามฟ้าฮ่าม" (วัดฟ้าฮ่าม) หมายถึงฟ้าสวาง-อร่ามเรืองรอง สร้างเมื่อ พ.ศ.1934 (นับเป็นเวลาถึงปัจจุบัน พ.ศ.2552 วัดฟ้าฮ่ามมีอายุได้ 618 ปี) จากนั้นนำพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ.วัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ในปัจจุบัน

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น้ำปิง ลูกสาวสุดที่รัก


เธอทั้งนั้น (สุดที่รัก)

รู้ไหมว่ามันดียังไง และรู้ไหมว่าสุขใจเพียงใด
รู้ไหมว่าชีวิตเก่าๆ ของฉันนั้นเปลี่ยนไปเท่าไหร่
รู้ไหมว่าก่อนจะเจอเธอ รู้ไหมฉันเคยเป็นยังไง
รู้ไหมการที่ได้เจอเธอ นั้นช่างยิ่งใหญ่สักเท่าไหร่

เธอ เธอทั้งนั้นที่ทำ ให้ช่วงชีวิตของฉันน่าจดจำ
จนฉันได้เจอเธอ

โลกที่เคยมองดูซึมเซา โลกที่มีแต่ความว่างเปล่า
ฟ้าทึมๆ และวันเศร้าๆ ไม่คิดว่าจะมีวันนี้ได้

เธอ เธอทั้งนั้นที่ทำ ให้ช่วงชีวิตของฉันน่าจดจำ
จนฉันได้เจอเธอ

ขอบคุณสรวงสวรรค์ ให้เราได้เจอะกัน
ขอบคุณคนๆ นั้น ที่ทำให้ฉันได้พบเธอ
ขอบคุณทุกเรื่องราว
ต้นเหตุที่ในวันนี้ฉันนั้นได้เจอ เธอ (สุดที่รัก)

รู้ไหมว่ามันดียังไง และรู้ไหมว่าสุขใจเพียงใด
รู้ไหมว่าชีวิตเก่าๆ ของฉันนั้นเปลี่ยนไปเท่าไหร่
รู้ไหมว่าก่อนจะเจอเธอ รู้ไหมฉันเคยเป็นยังไง
รู้ไหมการที่ได้เจอเธอ นั้นช่างยิ่งใหญ่สักเท่าไหร่

เธอ เธอทั้งนั้นที่ทำ ให้ช่วงชีวิตของฉันน่าจดจำ
จนฉันได้เจอเธอ

ขอบคุณสรวงสวรรค์ ให้เราได้เจอะกัน
ขอบคุณคนๆ นั้น ที่ทำให้ฉันได้พบเธอ
ขอบคุณทุกเรื่องราว
ต้นเหตุที่ในวันนี้ฉันนั้นได้เจอ เธอ (สุดที่รัก)

ขอบคุณสรวงสวรรค์ ให้เราได้เจอะกัน
ขอบคุณคนๆ นั้น ที่ทำให้ฉันได้พบเธอ
ขอบคุณทุกเรื่องราว
ต้นเหตุที่ในวันนี้ฉันนั้นได้เจอ เธอ (สุดที่รัก)

เชียงแสน เมืองแห่งอารยะธรรมล้านนา


เวียงเชียงแสน คือ เวียง ก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรล้านนา ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ บ้านสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
แคว้นที่สำคัญที่สุด และ มีเมืองหลวงอยู่ในอำเภอเชียงแสน ก็คือ แคว้นโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณที่เก่าแก่ที่สุดบนอาณาจักรล้านนา มีอายุประมาณ 2000 ปี ปัจจุบันนี้ก็คือ ทะเลสาบเชียงแสน และ รอบๆนั้น อีกแคว้นหนึ่งก็คือ แคว้นหิรัญนครเงินยาง ซึ่งเป็นแคว้นผู้ก่อตั้งเวียงเชียงแสน เป็นแคว้นสืบต่อเนื่องจากแคว้นโยนกนาคพันธุ์ และ เป็นถิ่นประสูติของพญามังรายมหาราช
หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ที่ประสูติของพระเจ้ามังรายมหาราช
หลังจากนครโยนกนาคพันธุ์ถูกถล่มด้วยแผ่นดินไหวล่มสลายลง เมื่อปี พ.ศ. 1088 ก็สิ้นราชวงศ์สิงหนวัติ หลังจากนั้นอีกหลายปี บรรดาชุมชนบริเวณรอบๆที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องหาผู้นำใหม่ ปรากฏว่า ได้ ขุนลัง เป็นผู้นำ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้งบนเวียงริมฝั่งแม่น้ำโขง ปกครองด้วยการประชุมหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "เวียงปรึกษา"
วิธีปกครองแบบ ปรึกษา ซึ่งนักวิชาการบางท่านก็จะคิดว่า เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในเมืองไทยนี้ สามารถใช้มาจนถึง พ.ศ. 1181 เป็นเวลาถึง 93 ปี ก่อนที่ พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์แห่งทวารวดีจะเสด็จขึ้นมาสนับสนุน พญาลวจักรราช ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แทนราชวงศ์สิงหนวัติ
เมืองเชียงแสนในสมัยล้านนา
หิรัญนครเงินยางเชียงแสน กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในสมัยล้านนา หลังจากพญาเม็งรายสวรรคตแล้ว พญาแสนภูพระราชนัดดาขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ได้เสด็จกลับมาฟื้นฟูนครขึ้นมาใหม่ และประทับว่าราชการอยู่เมืองนี้ ทำให้เมืองเชียงแสนมีฐานะเป็นเมืองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 1870-1884 คือ ในรัชสมัย พญาแสนภู และ พญาคำฟู รวม 13 ปี
เจดีย์วัดป่าสัก
ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์เม็งรายเมื่อ ราวพ.ศ. ๑๘๗๑ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ กล่าวว่า “ ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีนถ้ำขวา(เบี้องขวา)แห่งพระ พุทธเจ้าใหญ่เท่าเม็ดถั่วกว่าง(ถั่วเขียว)เอามาแต่เขตเมืองปาฏลีบุตรนั้น เอามาสู่พระยาราชแสนดู แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก ต่อวัดพระหลวงภายนอกที่นั้นแล้ว ก็สร้างให้เป็นความกว้าง ๕๐ วา เอาไม้สักมาปลูกแวดกำแพง ๓๐๐ ต้นแล้วเรียกว่าความป่าสักแต่นั้นมาแล แล้วก็สร้างกุฎีให้เป็นทานแก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังตราบป่าสักที่นั้น” เจดีย์วัดป่าสักเป็นเจดีย์ห้ายอดคล้ายเจดีย์เชียงยืน ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน แต่มีลักษณะคลี่คลายออกไปแล้วคือผังส่วนล่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ยๆซ้อนลดหลั่น รองรับชั้นแถวจระนำซึ่งทั้งสี่ด้านมีซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนด้านละสาม องค์ รวมทั้งหมด ๑๒ องค์และยังมีจระนำเล็กอีกสี่สลับสำหรับประดิษฐานรูปเทวดายืน (ชั้นจระนำนี้มีต้นเค้าจากอิทธิพลเจดีย์กู่กุดแต่ลดชั้นเหลือเพียงชั้น เดียว) เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงลดหลั่นสี่ชั้น ชั้นที่กล่าวมาเหล่านี้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏที่เจดีย์เชียงยืน พ้นจากส่วนนี้เหมือนเจดีย์เชียงยืนคือ เป็นฐานบัวรองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยม แต่ละด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ประทับยืนทั้งสี่ด้าน กรอบซุ้มประดับด้วยฝักเพกาสูงแหลมลดหลั่นกันแบบศิลปะพุกามที่มีชื่อเรียกว่าเคล็ก (CLEC) ที่มุมเหนือเรือนธาตุประดับเจดีย์องค์เล็กๆ เหนือเรือนธาตุตรงกลางเป็นแท่นแปดเหลี่ยมมีบัวปากระฆังรองรับองค์ระฆังกลมที่ประดับลายรัดอก เหนือองค์ระฆังเป็นบัวกลุ่มซ้อนกันขึ้นไปจนถึงปลียอด

ร้านอาหาร เจียงใหม่ฯลฯ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




ร้านเจียงใหม่ฯลฯเลขที่ 399 หมู่ 2 ถนนเจริญราษฏร์ ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทร. 086 6005641 http://www.chiangmaietc.com/
เจียงใหม่ เป็นคำพูดที่ใช้กันทั่วไปในภาษาเมืองซึ่งเป็นคำพูดที่กล่าวถึง เชียงใหม่ นั้นเอง เป็นคำพูดที่ใช้เรียกซึ่งเกิดจากการออกเสียง เชียงเป็น เจียง แปล ความหมายโดยตรง คือ เมือง นั้นเอง เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสัมผัสได้ถึงอารมณ์ที่กรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาและความสวยงามของภาษาที่มีมานาน เจียงใหม่ ฯลฯ มีความหมายถึง เชียงใหม่ ที่มีอื่นๆอีกมากมายหลากหลายไม่รู้จบ ผู้มาเยือนเชียงใหม่และแวะมา เจียงใหม่ ฯลฯ จะได้รับลิ้มรสชาติที่อร่อยของ ส้มตำอีสาน นานาชนิดที่ถูกปรุงรสให้มีความถูกปากและคงความดั้งเดิมความอร่อยของส้มตำอีสานนานาชนิดไว้ อีกทั้งยังเป็นที่รวบรวมความอร่อยอื่นๆอีกมากมาย เช่น น้ำตก ตับหวาน หมูและเนื้อแดดเดียว ไก่ย่างและทอด ปลาเผา แกงอ่อม ต้มยำน้ำใสและน้ำข้น ฯลฯตลอดจนอาหารเมือง อาหารจานอร่อยอีกมากมายหลายชนิดที่เตรียมไว้ต้อนรับที่พร้อมจะเรียกน้ำย่อยผู้มาเยือนทุกท่าน นอกจากนี้ยังมีเสียงเพลงดนตรีที่ฟังสบายๆที่แสนไพเราะคลออย่างแผ่วเบา รวมถึงกลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่ลอยมาให้ผู้มาเยือน เจียงใหม่ ฯลฯ ทุกท่านอยากรับรู้สัมผัสที่เหลืออย่างเย้ายวนใจ ด้วยความพร้อมด้านสถานที่เมื่อผู้มาเยือนก้าวเข้ามาในร้าน เจียงใหม่ ฯลฯ ก็จะพบกับบรรยากาศอบอุ่นด้วยสไตล์การตกแต่งที่เรียบง่ายผสมผสานระหว่างงานสถาปัตยกรรมพื้นเมืองเก่าแก่ และความสะดวกสบายในรูปแบบทันสมัย ทำให้เกิดความลงตัวได้เป็นอย่างดี.